ค้นหาบล็อกนี้

วันจันทร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2553

Tokyo Sonata : วันที่หัวใจซ่อนเจ็บ



Tokyo Sonata



วันที่หัวใจซ่อนเจ็บ



แนวหนัง : ดราม่า



กำกับโดย : คิโยชิ คุโรซาวะ



นักแสดง : เทริยูกิ คางาวะ,เคียวโกะ โคะอิซึมิ, ยู โคะยานา




เนื้อเรื่องย่อ



ในเมืองโตเกียว ริวเฮย์ (เทรุยุกิ คางาวะ) เป็นนักธุรกิจชาวญี่ปุ่นทั่วๆ ไป แต่แล้ววันหนึ่งเขากลับถูกปลดออกจากงานอย่างไม่ทันตั้งตัว เขาตัดสินใจไม่บอกเรื่องนี้กับภรรยาของเขา เมงุมิ (เคียวโกะ โคอิซุมิ) และลูกชายทั้งสอง ทาคาชิ (ยู โคยานางิ) และ เคนจิ (อิโนวากิ ไค) ริวเฮย์ ยังคงแสร้งทำเป็นออกจากบ้านไปทำงานทุกวันเช่นเคย
ริวเฮย์ รู้สึกกดดันอย่างหนัก เมื่องานที่หาได้ตอนนี้มีแต่งานรายได้ต่ำกว่าที่เขาเคยทำมามาก แต่ในที่สุด เขาก็จำต้องรับงานเป็นภารโรงที่ห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่ง เขาต้องทำความสะอาดพื้นและล้างห้องน้ำ แม้จะเป็นงานที่ทำให้เขาอับอาย แต่ ริวเฮย์ ก็จำเป็นต้องก้มหน้ารับชะตากรรม
เคนจิ ลูกชายคนเล็กก็มีความลับของตัวเองเช่นกัน เนื่องจากพ่อไม่อนุญาตให้เขาเรียนเปียโน เขาจึงแอบไปเรียนเอง โดยนำเงินค่าอาหารกลางวันของตัวเองไปจ่ายเป็นค่าเรียน ขณะที่พี่ชายวัยรุ่นของเขา ทาคาชิ ก้าวเข้าสู่โลกของผู้ใหญ่ ด้วยการเข้ารับราชการเป็นทหาร
เมงุมิ ผู้เป็นแม่บ้าน เฝ้ามองครอบครัวของเธอและเห็นความลับต่างๆ ค่อยๆ เผยตัวออกมา ในหัวใจของเธอเองก็เต็มไปด้วยความท้อแท้สิ้นหวัง ครอบครัว ซาซากิ จะประคับประคองกันและกันไปได้ตลอดรอดฝั่งหรือไม่





1. สิ่งที่ได้เรียนรู้จากภาพยนตร์



จากภาพยนตร์เรื่องนี้พล็อตของหนังก็ง่ายมากๆ ซึ่งพูดถึงครอบครัวคนชั้นกลางของญี่ปุ่นครอบครัวหนึ่งในปัจจุบัน โดยมีสาเหตุจาก พ่อ ซึ่งเป็นหัวหน้าครอบครัวโดนไล่ออกจากงาน จึงทำให้เป็นสาเหตุของเหตุการณ์ต่างๆ และเกิดปัญหาครอบครัวขึ้น โดยสมาชิกในครอบครัวนั้นต่างคนต่างความคิด ต่างความต้องการและปราศจากการพูดคุยและปรึกษาหารือกันภายในครอบครัว จึงทำให้เกิดปัญหาขึ้นมาทีหลัง
ซึ่งจากภาพยนตร์เรื่องนี้ ได้เรียนรู้จากสิ่งต่างๆ เยอะเลย เพราะปัจจุบันครอบครัวซึ่งเป็นครอบครัวคนเมืองนั้นมีมากขึ้น ตามวิถีชีวิตคนเมืองนั้นเอง ที่พ่อนั้นทำหน้าที่เป็นหัวหน้าครอบครัวในการหาเงินเพื่อจุนเจือครอบครัว และวางอนาคตให้กับลูกๆ โดยมีแม่ ทำหน้าที่เป็นแม่บ้านแม่เรือน หากับข้าว ทำอาหาร ดูแลสมาชิกของครอบครัวทุกคน แต่เมื่อพ่อซึ่งเป็นน้ำพักน้ำแรงของครอบครัว ตกงาน จึงเกิดปัญหาทางด้านการเงินขึ้น ซึ่งความเครียดก็เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นตามมา แต่เมื่อบวกกับความที่ต้องปิดปังครอบครัวเรื่องตกงาน ก็ยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นไปอีก อีกทั้งความต้องการของลูกคนโตที่เติบโตเป็นผู้ใหญ่แล้วอยากเข้ารับราชการทหารของกองทัพสหรัฐ ซึ่งคัดแย้งกับความต้องการของพ่อแม่ที่อยากให้ลูกอยู่ที่ญี่ปุ่น ไม่อยากให้ไปไหน ไกลๆ ด้วยความเป็นห่วงของพ่อแม่นั้นเอง ส่วนลูกคนเล็กที่เกิดมาพร้อมกับพรสวรรค์ทางด้านดนตรี ที่มีความต้องการอยากเรียนทางด้านดนตรีนั้นคือ เปียโน นั้น คัดแย้งกับความต้องการของพ่ออีกที่มีปัญหาด้านการเงินและดูว่าการเล่นดนตรีเป็นเรื่องไร้สาระ อีกทั้งเหตุการณ์ต่างๆ ที่มีแม่เป็นตัวกลางในการให้ความช่วยเหลือและเป็นที่ปรึกษาของลูกๆ ดูครอบครัวของเธอเองด้วยความท้อแท้ใจ และปัญหาที่เกิดขึ้นจริงๆ กับครอบครัวนี้คือ การไม่พูดคุยและปรึกษาหารือกันในครอบครัวนั้นเอง เพราะถ้าสมาชิกทุกคนต่างคนต่างความคิด และมีความลับปกปิดกันภายในครอบครัวอีก ก็ยิ่งเกิดเรื่องแย่ๆ ขึ้นอีกมาก




*** ซึ่งสรุปแล้วนั้นได้รับรู้ถึงสภาพครอบครัว สังคม เศรษฐกิจและวิถีชีวิตของคนญี่ปุ่นอีกทั้งแนวความคิดของสมาชิกในครอบครัว อีกทั้งยังได้รับรู้เกี่ยวกับสภาพปัญหาของครอบครัวของคนญี่ปุ่นเนื่องจากหัวหน้าครอบครัวโดนไล่ออกจากงาน และเกิดปัญหาต่างๆ ขึ้นทั้งในครอบครัวและสังคมของญี่ปุ่นในช่วงนั้นด้วย
2. ทฤษฎีสังคม




ทฤษฎีโครงสร้าง-หน้าที่ (Structural-Functional theory)



แนวความคิดในการพัฒนา
ทฤษฎีโครงสร้าง-หน้าที่เป็นผลมาจากการนำเอาแนวความคิดทางด้านชีววิทยามาใช้ โดยอุปมาว่า โครงสร้างของสังคมเป็นเสมือนร่างกายที่ประกอบไปด้วยเซลล์ต่าง ๆ และมองว่า หน้าที่ของสังคมก็คือ การทำหน้าที่ขออวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย โดยแต่ละส่วนจะช่วยเหลือและเกื้อกูลซึ่งกันและกันเพื่อให้ระบบทั้งระบบมีชีวิตดำรงอยู่ได้
โรเบิร์ต เค. เมอร์ตัน (Robert K. Merton) ได้จำแนกหน้าที่ทางสังคมเป็น 2 ประเภท คือ หน้าที่หลัก (Manifest) หน้าที่รอง (Latent) หน้าที่ที่ไม่พึงปรารถนา (Dysfunctional) หน้าที่ของบางโครงสร้างของสังคมอาจมีประโยชน์ต่อคนส่วนใหญ่ แต่ขณะเดียวกันคนบางส่วนอาจได้รับประโยชน์เพียงน้อยนิดหรืออาจไม่ได้รับประโยชน์เลย ซึ่งรวมไปถึงอาจจะมีคนบางกลุ่มหรือบางส่วนของสังคมได้รับผลเสียจากทำงานของโครงสร้างของสังคมนั้นก็ได้
อีมีล เดอร์ไคม์ (Emile Durkheim) มีแนวความคิดว่า หน้าที่ของสังคมคือ ส่วนที่สนับสนุนให้สังคมสามารถดำรงอยู่ได้ ซึ่งสอดคล้องกับ เอ.อาร์ แรดคลิฟฟ์ บราวน์ (A.R. Radcliffe-Brown) กับ โบรนิสลอว์ มาลิโนว์สกี้ (Bronislaw Malinowski) ที่มองว่า หน้าที่ทางสังคม เป็นส่วนสนับสนุนให้โครงสร้างสังคมคงอยู่อย่างต่อเนื่อง เพราะสังคมมีกระบวนการทางสังคมที่ทำให้สังคมเกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เช่น บรรทัดฐาน ค่านิยม ความเชื่อ วัฒนธรรม และประเพณี เป็นต้น
ทาลคอทท์ พาร์สัน (Talcott Parsons) มีแนวความคิดว่า สังคมเป็นระบบหนึ่งที่มีส่วนต่าง ๆ (Part) มีความสัมพันธ์และสนับสนุนซึ่งกันและกัน ความสัมพันธ์ที่คงที่ของแต่ละส่วนจะเป็นปัจจัยทำให้ระบบสังคมเกิดความสมดุลย์ (Equiligrium) ส่วนในด้านการเปลี่ยนแปลงทางสังคม พาร์สันเสนอว่า เกิดจากความสมดุลย์ถูกทำลายลง เพราะองค์ประกอบของสังคมคือบุคลิกภาพ (Personality) อินทรีย์ (Organism) และวัฒนธรรม (Culture) เกิดความแตกร้าว โดยมีสาเหตุมาจากทั้งสาเหตุภายนอกระบบสังคม เช่น การเกิดสงคราม การแพร่กระจายของวัฒนธรรม เป็นต้น และสาเหตุจากภายในระบบสังคม ที่เกิดจากความตึงเครียด (Strain) เพราะความสัมพันธ์ของโครงสร้างบางหน่วย (Unit) หรือหลาย ๆ หน่วย ทำงานไม่ประสานกัน เช่น การเปลี่ยนแปลงทางประชากร การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี เมื่อส่วนใดส่วนหนึ่งมีการเปลี่ยนแปลงจะเป็นสาเหตุทำให้ส่วนอื่น ๆ มีการเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอาจเกิดขึ้นเฉพาะส่วนใดหนึ่งหนึ่งหรืออาจเกิดขึ้นทั้งระบบก็ได้ พาร์สันเน้นความสำคัญของ วัฒนธรรม ซึ่งรวมถึงความเชื่อ บรรทัดฐาน และค่านิยมของสังคม คือ ตัวยึดเหนี่ยวให้สังคม
โดยสรุปแล้ว แนวความคิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมของกลุ่มทฤษฎีโครงสร้าง-หน้าที่ มีลักษณะดังนี้
- ในการศึกษาและวิเคราะห์สังคมต้องมองว่า สังคมทั้งหมดเป็นระบบหนึ่งที่แต่ละส่วนจะมี
ความสัมพันธ์ระหว่างกัน
-
ความสัมพันธ์คือสิ่งที่สนับสนุนซึ่งกันและกันอย่างเป็นเหตุเป็นผล
- ระบบสังคมเป็นการเคลื่อนไหวเข้าสู่ความสมดุลย์ การปรับความสมดุลย์ของระบบจะทำ
ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายใน ระบบตามไปด้วยความต่อเนื่องของกระบวนการของข่าวสารจากภายในและภายนอก นอกจากนี้ทฤษฎีระบบยังมองว่าความขัดแย้ง ความตึงเครียดและความไม่สงบสุขภายในสังคมก็เป็นสาเหตุหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงทางสังคม แต่อย่างไรก็ตามทฤษฎีระบบก็มีข้อจำกัดในการศึกษาเปลี่ยนแปลงทางสังคม เนื่องจากในการวิเคราะห์ตามทฤษฎีระบบเป็นการศึกษาเฉพาะเรื่อง จึงทำให้ไม่สามารถศึกษาความสัมพันธ์กับระบบอื่นได้อย่างลึกซึ้ง

3. หากเป็นพ่อ



หากผมเองเป็นพ่อ ผมก็จะดูแลสาระทุกข์สุขดิบของครอบครัวให้เป็นอย่างดีเท่าที่กำลังของหัวหน้าครอบครัวจะทำได้ และถ้าเกิดปัญหาต่างๆ ผมจะนำเรื่องมาปรึกษาคู่ชีวิตของผมเองซึ่งเป็นแม่ของลูกๆ ในการคิดที่จะแก้ไขปัญหาและหาทางออก เพราะเชื่อว่าสองหัวดีกว่าหัวเดียวแน่นอน อีกทั้งตัวของแม่เองซึ่งทำหน้าที่เป็นแม่บ้านจะรู้ถึงความเคลื่อนไหวของสมาชิกของครอบครัวตลอดนั้นเอง





4. หากเป็นแม่



หากตัวผมเองเป็นแม่ ในสถานการณ์ต่างๆ ที่สามีต้องเผชิญอยู่นั้น การถามตรงๆและแสดงความห่วงใยและพร้อมที่จะเผชิญไปด้วยกัน เพื่อทำให้สามีเกิดความรู้สึกผ่อนคลายและไม่เครียดนั้นเอง อีกทั้งการรับรู้ถึงสภาพของครอบครัวและสมาชิกในครอบครัว การดูแลลูกๆ นั้น เป็นหน้าที่ที่พึงกระทำ แต่สิ่งที่ต้องเพิ่มมาคือการเอาใจใส่นั้นเอง






5. หากเป็นพี่คนโต



หากตัวผมเองเป็นพี่คนโต การเป็นพี่โตที่เริ่มเข้าสู่วัยของการเป็นผู้ใหญ่อย่างเต็มตัวนั้น การทำตัวให้พ่อแม่ไว้ใจและปล่อยให้ตัวเราเองกล้าที่จะเผชิญกับโลกภายนอกนั้น ต้องใช้ความพยายามมาก เพราะความเป็นห่วงของพ่อแม่นั้นเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ อีกทั้งต้องทำให้พ่อแม่เชื่อใจว่า เราสามารถดูแลตัวเองได้แล้ว เพื่อคลายกังวลของพ่อแม่ด้วย





6. หากเป็นน้องคนเล็ก



หากผมเป็นน้องคนเล็ก แม้จะเป็นเพียงสมาชิกคนสุดท้ายของครอบครัว ผมก็จะทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุด การที่รู้ว่าตัวเองต้องการอะไร และมีความสามารถอะไร ก็ควรหาที่ปรึกษา ซึ่งแม่เป็นบุคคลที่ดูแลครอบครัวซึ่งจะช่วยในการให้ความช่วยเหลือและปรึกษากับพ่อนั้นเอง





7. หากเป็นตนเอง



หากปัญหาต่างๆ เกิดขึ้นกับตัวผมเองนั้น ผมก็จะย้อนกลับไปสู่จุดเริ่มต้นของปัญหาที่เกิดขึ้นกับครอบครัวของผมเอง และการทำหน้าที่ที่พึงตนเองพึงกระทำ จึงเป็นผลดีที่สุดในการรักษาสภาพของครอบครัว ในการแก้ไขปัญหาการปรึกษากันภายในครอบครัวจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นที่สุดในการอยู่ร่วมกัน เพราะถ้าคนใดคนหนึ่งเกิดปิดปังเรื่องราวต่างๆ ที่เกิดผลเสียต่อครอบครัวก็ยิ่งทำให้เกิกปัญหาต่างๆ ขึ้นมาอีกนับไม่ถ้วน



การเปิดใจ เปิดอกคุยกัน จึงเป็นผลที่ดีที่สุด ในการรับรู้และแก้ไขปัญหาต่างๆ ของครอบครัว




8. อื่นๆ (เกิดขึ้นในครอบครัวจะทำอย่างไร)



หากปัญหาต่างๆ ในภาพยนตร์เรื่องนี้เกิดตรงกับครอบครัวผมเองนั้น ด้วยที่ผมเองเป็นพี่คนโต ด้วยวัยและหน้าที่ทางสังคมและครอบครัวแล้ว การเรียนให้จบแล้วหางานทำ เพื่อให้พ่อแม่เกิดความไว้วางใจในการดูแลตนเองได้ เพราะช่วยเหลือเจือจุนครอบครัวตัวเอง อาจจะช่วยเหลือด้านการเงินของค่าอาหารของน้องคนเล็กหรือไม่ก็ค่าน้ำค่าไฟของครอบครัวส่วนหนึ่ง ในการแก้ปัญหานั้นแก้ได้ไม่ยาก คือการเป็นลูกที่ดีของพ่อแม่ และเป็นน้ำพักน้ำแรงของครอบครัวอีกทั้ง การเป็นคนดีของสังคม ซึ่งไม่ทำให้พ่อแม่เดือดร้อนก็เป็นผลดีที่สุดแล้ว........



9. ข้อคิด



คนเราเกิดมาครอบครัวเดียวกันแล้ว ความรัก ความเข้าใจกันในสมาชิกของครอบครัวจึงเป็นพลังที่จะทำให้ครอบครัวเผชิญต่อปัญหาต่างๆ ได้อย่างเข้มแข็งและอดทน.........








ขอขอบคุณ




-เว็ปไซต์ SiamZone>Movie ในส่วนของเนื้อเรื่องย่อ
-เว็ปไซต์ Google>Picture ในส่วนของรูปภาพ
-เว๊ปไซต์
WWW.FIN.IN.TH ในส่วนของเนื้อหาทฤษฎีทางสังคม




เข้าถึงได้จาก




- http://www.siamzone.com/movie/m/5289/synopsis




- http://www.google.co.th/images?hl=th&q=tokyo%20sonata&rlz=1R2RNSN_enTH390&um=1&ie=UTF-8&source=og&sa=N&tab=wi




- http://fin.in.th/archives/194

วันพฤหัสบดีที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ปัญหาการค้ามนุษย์

ปัญหาการค้ามนุษย์
แม้จะได้มีการทำสงครามต่อต้านการค้ามนุษย์ขนานใหญ่ ทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศแล้วก็ตาม ประเทศไทยก็ยังคงเป็นประเทศปลายทางสำหรับเด็กเร่ร่อน เด็กจำนวนมากได้เข้าสู่การขายบริการทางเพศที่พัทยา 
[1]ซึ่งเป็นเมืองที่มีชื่อเสียงกระฉ่อนในอุตสาหกรรมทางเพศเด็ก นักวิจัยเรื่องการต่อต้านการค้ามนุษย์ประเมินว่า พัทยามีเด็กที่ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่งและเด็กยากจนข้นแค้นประมาณ1,500-2,000 คนต่อปีและจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากการที่เด็กมาเสาะหางานทำด้วยตัวเอง หรือมากับพ่อแม่จากทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย กัมพูชา พม่า ลาว และเวียดนาม

เด็กเร่ร่อนเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์ ประสบกับพวกที่ชอบมีสัมพันธ์ทางเพศกับเด็ก พวกเขาถูกล่วงละเมิดทั้งร่ายกายและจิตใจ เด็กที่โตกว่าก็เสี่ยงต่อการขายบริการทางเพศ เสี่ยงต่อการได้รับเชื้อเอชไอวี โรคเอดส์ และถูกล่วงละเมิดทางร่างกายและจิตใจในหลาย ๆ รูปแบบ ซึ่งรวมถึงเด็ก ๆ ที่อาศัยอยู่ในแหล่งสลัม17แห่งในพัทยา ตกเป็นเป้าของพวกชอบมีเพศสัมพันธ์กับเด็ก ที่ตบตาครอบครัวเด็กที่ยากจนเหล่านี้ในคราบของนักบุญ เพื่อให้ครอบครัวหลงกลและเปิดทางให้เข้าถึงตัวเด็กได้โดยง่าย ดังนั้น CPDC จึงความพยายามที่จะแก้ปัญหาประชากรเสี่ยงเหล่านี้ โดยเฉพาะเด็กกำพร้า เด็กเร่ร่อน และเด็กขายบริการทางเพศในพัทยา เพื่อให้ความคุ้มครองเด็กเร่ร่อนเหล่านี้ ให้ได้รับการฟื้นฟู การศึกษา กลับคืนสู่อ้อมกอดของครอบครัว และหากไม่สามารถส่งเด็กกลับคืนสู่ครอบครัวได้ เด็กเหล่านั้นก็สามารถพักพิงอยู่ที่ศูนย์ได้ในระยะยาวเพื่อเรียนหนังสือและฝึกวิชาชีพต่อไป

[2] เพื่อการให้ความช่วยเหลือมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น CPDC ได้วางโครงการก่อสร้างบ้านแรกรับและให้การฟื้นฟูช่วยเหลือเด็ก
เร่ร่อนในปี2553 โดยจะมีการก่อสร้างศูนย์พักพิงชั่วคราว หรือ Drop-in Centre ซึ่งตั้งอยู่ใกล้ ๆ พัทยากลางเพื่อให้เด็กเร่ร่อนและขายบริการทางเพศ สามารถเข้ามาหลบพักได้อย่างปลอดภัย โครงการสถานคุ้มครองสวัสดิภาพและพัฒนาเด็ก มีเป้าหมายให้ความคุ้มครองเด็กเร่ร่อนที่ทุกข์ร้อน ให้ที่พักพิงที่ปลอดภัยได้ครั้งละ 60 คน โดยจะให้ความช่วยเหลือเด็กและเยาวชนช่วงวัยระหว่างหกถึงสิบแปดปี

- นายศุภกร โนจา ตระหนักว่าไม่มีสถิติที่แน่นอนเกี่ยวกับเด็กเร่ร่อนในประเทศไทย แต่กล่าวว่าจำนวนเด็กเพิ่มขึ้นระหว่าง 20,000-25,000 คน
- องค์กรอื่นที่ให้บริการ ความช่วยเหลือต่อเด็กที่ยากจนข้นแค้นในพัทยา แต่ไม่ได้ดำเนินงานภาคสนาม องค์กรที่ว่านี้มี ศูนย์เมอรซี่ สถานที่พักพิงชั่วคราวพระมหาไถ่ และทามาร์

ขอขอบคุณ : มูลนิธิ เอช เอช เอ็น เพื่อเด็กไทย

เข้าถึงได้จาก : http://www.hhnthailand.org/th/projects/child-protection-and-development-center/the-problem/

ปัญหาสังคมไทย

ปัญหาสังคม


ความหมายปัญหาสังคม
มีผู้รู้ให้ความหมายไว้มากมาย แต่ในที่นี้จะนำมากล่าวไว้เพียงห้าความหมายพอเป็นแนวทางในการศึกษาต่อไป ท่านแรกคือ Goid Garry and Frand R. Scarpitti กล่าวว่าปัญหาสังคม คือ สภาวะการณ์ที่มีผลกระทบต่อประชาชนส่วนใหญ่ประชาชนมองเห็นว่าสภาวะการณ์นั้นเป็นสิ่งไม่ต้องการให้เกิดขึ้นและเห็นว่าสามารถจะแก้ไขได้ด้วยการกระทำร่วมกัน
Horton และ Lrslie ให้ความหมายไว้ว่าปัญหาสังคมเป็นสภาวะการณ์ที่มีผลต่อคนส่วนใหญ่ซึ่งเป็นสิ่งที่พึงปรารถนาและมีความรู้สึกว่าจะต้องร่วมกันแก้ไข
Raab และ Selznick เสนอสรุปได้ว่า ปัญหาสังคมคือปัญหาในส่วนที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของคนในสังคมในลักษณะที่ขัดต่อระเบียบของสังคม
Konig ให้ความหมายว่าปัญหาสังคมคือสถานการณ์ที่สังคมเห็นว่าเป็นการคุกคามวิถีทางที่ปฏิบัติอยู่หรือความสมบรูณ์ของงาน ด้วยเหตุนี้จึงควรจะกำจัดให้หมดสิ้นหรือให้เบาบางลง
ดร.ประสาท หลักศิลา อธิบายว่า ปัญหาสังคมเป็นสถานการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วจะเข้าใจกันหรือเชื่อกันว่าสถานการณ์เช่นนั้นเป็นอันตรายต่อคุณธรรมของปัญหาและต้องการหาทางแก้ไขสถานการณ์นั้นให้ดีขึ้นด้วยการร่วมมือทางสังคม


เพิ่มวิดีโอ
ลักษณะปัญหาสังคม จากความหมายข้างต้นนั้น พอสรุปลักษณะปัญหาสังคมได้ดังนี้
1. เป็นสภาวการณ์ที่มีผลกระทบกระเทือนต่อคนเป็นจำนวนมาก
2. เป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่พิจารณาว่าเป็นสภาวะการณ์ที่ไม่พึงปรารถนา
3. ปัญหาสังคม จะเปลี่ยนแปลงไปเมื่อค่านิยมหรือการตีความในแบบแผนพฤติกรรมแตก
4. ปัญหาสังคมย่อมผันแปร “ไปตามกาลเวลา”
5. ปัญหาสังคมย่อมมีผลมาจากนโยบายของรัฐหรือจากพฤติกรรมสังึมที่มิได้คาดคิดล่วงหน้าไว้ก่อน
6. บุคคลมีชนชั้นทางสังคมที่แตกต่างกัยย่อมมีความคิดเห็นการแก้ปัญหาสังคมที่แตกต่างกันทุกคนยอมรับการแก้ปัญหาสังคมที่เป็นประโยขน์แก่ตัวเองมากที่สุด

สาเหตุของปัญหาสังคมทั่วๆ ไป
จากการศึกษาสาเหตุของปัญหาสังคมของนักสังคมวิทยาหลายท่านปรกฏว่าผู้ศึกษาได้เสนอสาเหตุปัญหาสังคมไว้คล้าย ๆ กัน ซึ่งพอสรุปสาเหตุใหญ่ ๆ ได้ดังนี้
· การเปลี่ยนแปลงทางสังคม
· ความไม่เป็นระเบียบของสังคม
· พฤติกรรมเบี่ยงเบนไปจากบรรทัดฐานของสังคม
· การเปลี่ยนแปลงทางสังคม (Social Change)
ความหมายการเปลี่ยนแปลงทางสังคมตามความเห็นของ Davis เขากล่าวว่า หมายถึงการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดในการจัดระเบียบโครงสร้างหน้าที่ของสังคม
การเปลี่ยนแปลงทางสังคมเป็นการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างของสังคม คือ ในกลุ่มหรือองค์การทางสังคมแต่ละกลุ่ม องค์การทาทสังคมหรือโครงสร้างของสังคมเลยนั้น คือ เปลี่ยนแปลงจากความสัมพันธ์ระหว่งบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปจนถึงความสัมพันธ์ในกลุ่มทั้งสังคมเลยที่เดียว ดังนั้นลักษณะของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่จะก่อให้เกิดปัญหาที่สำคัญดังนี้
1. การเปลี่ยนแปลงจากสังคมชนบทเป็นสังคมเมือง
2. การเปลี่ยนแปลงจากสังคมเกษตรกรรมไปเป็นสังคมอุตสาหกรรม
3. การเพิ่มประชากร
4. การอพยพ
5. การเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี
6. การขยายตัวของเมืองอย่างรวดเร็ว ย่อมก่อให้เกิดปัญหา
7. การเปลี่ยนบรรทัดฐานของสังคม

ความไม่เป็นระเบียบของสังคมกับปัญหาสังคม


ความไม่เป็นระเบียบของสังคม หมายถึง ภาวะที่สังคมหรือสถาบันพื้นฐานทางสังคม ไม่สามารถจะควบคุมสมาชิกของสังคมให้ปฏิบัติตามระเบียบ ชึ่งก่อให้เกิดปัญหาสังคมที่สำคัญมี 5 ประการด้วยกันคือ
1. ความล้มเหลวของกลุ่มจารีตประเพณีหรือสถาบันพื้นฐาน
2. ผลประโยชน์ของกลุ่มชนขัดกัน
3. หน้าที่ตามสถานภาพและบทบาทที่ขัดแย้งกัน
4. ความผิดพลาดในการอบรมให้เรียนรู้ระเบียบแผนของสังคม สถาบันหรือหน้าที่
5. ความขัดแย้งระหว่างกฏเกณฑ์กับความมุ่งหวัง กกเกณฑ์ต่าง ๆ ที่สังคมกำหนดไว้ ให้ประชาชนในสังคมปฏบัติตาม

พฤติกรรมที่เบี่ยงเบนไปจากบรรทัดของสังคมกับปัญหาสังคม

พฤติกรรมที่เบี่ยงเบนไปจากบรรทัดฐานของสังคมเป็นพฤติกรรมที่สังคมไม่ยอมรับและไม่อาจทนได้ สังคมเห็นว่าเป็นความรับผิดชอบของสังคมและมีผลกระทบต่อสังคมโดยส่วนร่วม เช่น ผู้เสพติดให้โทษ
การที่คนเรามีพฤติกรรมเบี่ยงเบนนั้น เกิดจากปัจจัยหลายประการด้วยกันที่สำคัญมีดังนี้
1. ปัจจัยทางชีววิทยา(Biological Factor)
2. ปัจจัยทางจิต(Mental factor)
3. ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม(Environmental Factor)
4. ปัจจัยค่านิยมทางสังคม(Social Value)
5. ปัจจัยโครงสร้างทางสังคม(social structure facdtor)
6. การศึกษาปัญหาสังคมในการศึกษาเกี่ยวกับปัญหาสังคมนั้นมีวิชาการหลายแขนงที่กล่าวถึงและนักวิชาการในแขนงนั้น ๆ ได้ทำการศึกษารปัญหาสังคม ตามทัศนะของเขาดังเช่น
วิชาจิตวิทยา จะศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์และสังคมในแง่จิตวิเคราะห์เป็นสำคัญ
วิชามานุษยวิทยา ศึกษาปัญหาสังคมโดยการวิเคราะห์ประเพณีและวัฒนธรรมของสังคม
วิชาชีวิทยา นักชีววิทยา เห็นว่าองค์ประกอบทางชีววิทยาเป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหาสังคม มี 2 ประการคือ พันธุกรรม กับสิ่งแวดล้อม
วิชาสังคมวิทยา เป็นวิชาที่ศึกษาปัญหาสังคมโดยมองความสัมพันธ์ของผู้คนในสังคม

แนวทางในการศึกษาปัญหาสังคม

การศึกษาปัญหาสังคมนอกจากจะอาศัยวิทยาการหลาย ๆ สาขาแล้วเพื่อจะได้มองปัญหาสังคมหลายด้านว่ามีสาเหตุจากอะไร เพื่อจะได้นำเอาไปใช้วางแนวทางการแก้ปัญหาสังคมได้อย่างถูกต้องดังกล่างแล้ว หลักสำคัญประการหนึ่งคือ วิธีในการศึกษาปัญหานั้น จำเป็นต้องอาศัยการศึกษาค้นคว้าและการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์เพื่อให้ข้อมูลนั้นเชื่อถือได้ถูกต้องเที่ยงตรงที่สุด
วิธีการศึกษาค้นคว้าวิธีทางวิทยาศาสตร์นั้นแยกออกเป็นขั้นตอนดังนี้
· กำหนดปัญหาที่ต้องการพิสูจน์
· ตั้งข้อสมมติฐานความเป็นเหตุเป็นผลของปัญหา
· รวบรวมข้อมูล
· วิเคราะห์ข้อมูล
· สรุปและเสนอรายงาน

การแก้ไขปัญหาสังคม

การแก้ไขปัญหาสังคม หมายถึงการจัดการกับปัญหาสังคมเมื่อเกิดปัญหาขึ้นแล้ว เช่น เกิดความยากจนเกิดปัญหาความยากจนขึ้นมาแล้ว จึงดำเนินการแก้ไข ฯลฯ จึงดำเนินการแก้ไขตัวอย่าง เช่น เมื่อเกิดปัญหาว่างงานก็จะแก้โดยการสร้างงานมากขึ้น เพื่อคนจะได้มีงานทำ


ขอขอบคุณ : ศูนย์บริการช่วยสืบค้นข้อมูลทางวิชาการ มหาวิทยาลัยรามคำแหง


เข้าถึงได้จาก : http://isc.ru.ac.th/data/PS0003700.doc